Skip to content

Latest commit

 

History

History
 
 

2-packages

Folders and files

NameName
Last commit message
Last commit date

parent directory

..
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

บทที่ 2 - ติดตั้งและใช้งาน package

บทนี้เราจะสอนวิธีการติดตั้งและใช้งาน package กัน package คือโค้ดที่มีคนอื่นเคยเขียนไว้แล้ว และเราสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่ง package นั้นสามารถเป็นอะไรก็ได้ ในตัวอย่างนี้เราจะลองใช้ package ที่ช่วยให้เราจัดการเรื่องสีได้ดีขึ้น ซึ่ง package ที่ว่านั้นเราไปเอาจากของคนอื่นเขามาใช้ ไม่ได้เขียนเอง

  • ติดตั้ง package ชื่อ color (เป็น community-made package) โดยสั่ง yarn add color

เปิดไฟล์ package.json จะเห็นว่า Yarn ได้ทำการเพิ่ม color เข้าไปใน dependencies แล้วเรียบร้อย

นอกจากนี้ โฟลเดอร์ node_modules ก็ยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บ package ไว้อีกด้วย

  • เพิ่ม node_modules/ เข้าไปใน .gitignore (และสั่ง git init ด้วย เพื่อสร้าง repo ถ้ายังไม่ได้ทำ)

ถ้าสังเกต คุณจะเห็นว่ามีไฟล์ yarn.lock ที่ Yarn generate ขึ้นมาด้วย ซึ่งไฟล์นี้นั้นก็ควรจะต้องถูก commit ด้วย เพื่อรับประกันว่าทุกคนในทีมจะใช้ package ที่มีเวอร์ชันตรงกันทุกคน แต่ถ้าหากคุณใช้ NPM แทน Yarn นั้น NPM จะมีไฟล์ที่ทำหน้าที่เดียวกัน เรียกว่า shrinkwrap

  • เพิ่ม const Color = require('color'); ไปใน index.js
  • ใช้งาน package ดังกล่าวได้ เช่น const redHexa = Color({r: 255, g: 0, b: 0}).hexString();
  • เพิ่ม console.log(redHexa)
  • สั่ง yarn start จะเห็น #FF0000

ยินดีด้วย! คุณได้ติดตั้งและใช้งาน package แล้ว!

color ถูกใช้ในบทนี้เพื่อให้เข้าใจวิธีการใช้ package เล็กๆ ซึ่งเราไม่ต้องการใช้อีกแล้ว เราก็ลบทิ้งได้ โดย

  • สั่ง yarn remove color

Note: ใน dependencies นั้นจะมีอยู่สองประเภท, "dependencies" กับ "devDependencies" "devDependencies" นั้นจะเป็น package ที่จำเป็นเฉพาะในตอน development เท่านั้น ไม่ได้นำไปใช้ตอน production (ปกติมักจะเป็นพวก package ที่เกี่ยวข้องกับการ build ต่างๆ, linters และอื่นๆ) ซึ่งสำหรับ "devDependencies" เราจะใช้ yarn add --dev [package] ในการเพิ่ม "devDependencies"

บทถัดไป บทที่ 3 - ตั้งค่าเพื่อใช้งาน ES6 โดยใช้ Babel และ Gulp

กลับไปยังบทที่แล้ว หรือไปที่สารบัญ