Skip to content

Latest commit

 

History

History
 
 

1-node-npm-yarn-package-json

Folders and files

NameName
Last commit message
Last commit date

parent directory

..
 
 
 
 
 
 

บทที่ 1 - Node, NPM, Yarn และ package.json

ในบทนี้เราจะพูดถึงการ set up Node, NPM, Yarn, และการใช้งาน package.json ในขั้นต้น

แรกสุด เราต้องติดตั้ง Node ก่อน ซึ่งเราจะไม่ได้ใช้ Node สำหรับการทำ Back-End ด้วย JavaScript เท่านั้น แต่เครื่องมือที่เราใช้สำหรับ Front-End ก็ใช้ Node ด้วย

ไปที่หน้าดาวน์โหลด สำหรับ macOS หรือ Windows แบบ binaries หรือใช้ package manager สำหรับ Linux

สำหรับ Ubuntu / Debian คุณสามารถใช้คำสั่งนี้เพื่อติดตั้ง Node ได้

curl -sL https://deb.nodesource.com/setup_6.x | sudo -E bash -
sudo apt-get install -y nodejs

ติดตั้งเวอร์ชันอะไรก็ได้ที่มากกว่า 6.5.0

npm เป็น package manager สำหรับ Node ซึ่งติดตั้งโดยอัตโนมัติอยู่แล้วเมื่อติดตั้ง Node ดังนั้นจึงไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม

Note: ถ้าเคยติดตั้ง Node มาแล้ว ให้ติดตั้ง nvm (Node Version Manager) แล้วใช้ nvm ในการติดตั้งเวอร์ชันล่าสุดที่คุณต้องการ

Yarn ก็เป็น package manager เหมือนกับ NPM แต่ว่าเร็วกว่า NPM, ใช้งานแบบ Offline ได้ รวมถึงสามารถค้นหา dependencies ต่างๆ แบบคาดเดาได้มากขึ้น ตั้งแต่ที่ Yarn release ออกมาเมื่อตุลาคม 2016 นั้น ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี รวมถึงมีการ fix bug ได้รวดเร็วมาก จนกลายเป็น package manager ตัวใหม่ที่เป็นทางเลือกนอกเหนือจากการใช้ NPM ซึ่งใน Tutorial ของเรานั้นจะใช้ Yarn ทั้งหมด แต่ถ้าคุณอยากใช้ NPM เดิมๆ ก็เพียงแค่ใช้ npm install --save กับ npm install --dev แทน yarn add กับ yarn add --dev ที่อยู่ใน Tutorial นี้ทั้งหมด

  • ติดตั้ง Yarn โดยทำตาม instructions ตามนี้ หรือจะสั่ง npm install -g yarn หรือ sudo npm install -g yarn ก็ได้ (ใช่แล้ว เราใช้ NPM เพื่อติดตั้ง Yarn มันก็คล้ายๆ กับใช้ Internet Explorer หรือ Safari เพื่อติดตั้ง Chrome นั้นแหละ!)

  • สร้าง folder ใหม่ขึ้นมา (ชื่ออะไรก็ได้) และ cd เข้าไป

  • สั่ง yarn init และตอบคำถามตามที่แสดงมา (หรือใช้ yarn init -y เพื่อข้ามทุกคำถามเลยก็ได้) เพื่อให้ Yarn ทำการสร้างไฟล์ package.json ขึ้นมาเอง

  • สร้าง index.js แล้วเขียน console.log('Hello world') ในไฟล์นั้นลงไป

  • สั่ง node . ในโฟลเดอร์ปัจจุบัน (index.js คือ default file ที่ Node จะมองหาในโฟลเดอร์ปัจจุบัน) เมื่อสั่งรันแล้วควรจะเห็นคำว่า "Hello world" ขึ้นมา

ซึ่งการสั่ง node . นั้นดูจะ low-level ไปนิด เราจะใช้ NPM/Yarn script เพื่อให้สั่งรันคำสั่งที่ว่านั้นแทน แต่จะได้ความ abstraction และเข้าใจง่ายขึ้นมาด้วย เพราะเราจะสั่งคำสั่งด้วย yarn start เฉยๆ เลย แม้ว่าในอนาคตตัวคำสั่งที่เราจะสั่งมันจะซับซ้อนขึ้นไปกว่านี้อีก เราก็สั่ง yarn start ก็พอ ซึ่งวิธีการก็ทำตามนี้

  • ในไฟล์ package.json เพิ่ม scripts object เข้าไปใน root object แบบนี้
"scripts": {
  "start": "node ."
}

ซึ่ง package.json ต้องเป็นไฟล์ JSON จริงๆ (ห้ามมี trailing commas) ดังนี้ระวังให้ดีเมื่อต้องแก้ไข package.json ด้วยมือ

  • สั่ง yarn start ทีนี้ก็จะเห็นคำว่า Hello world แล้ว

  • สร้าง .gitignore ขึ้นมา และเพิ่มข้อมูลเหล่านี้ลงไป

npm-debug.log
yarn-error.log

Note: ถ้าดูในไฟล์ package.json ที่เรามีให้ในโปรเจคนี้ จะเห็น script tutorial-test ในทุกๆ บทเลย ซึ่ง script นี้จะช่วยให้ผม(ผู้เขียน) เทสว่าโค้ดในบทนี้ใช้งานได้ เมื่อทำการรัน yarn && yarn start ดังนั้น คุณสามารถลบ script นี้ทิ้งได้เลยในโปรเจคของคุณเอง

บทถัดไป บทที่ 2 - ติดตั้งและใช้งาน package

กลับไปที่สารบัญ