Skip to content

HikariJadeEmpire/TH_WLRD_Happiness_Project

Repository files navigation

TH_WORLD_Happiness_Project

Mini Project
code : here

DATA source

  • "World Happiness Report" : link
  • "World Development Indicators" : link

ทำความเข้าใจ DATA

"World Happiness Report" : เป็นการจัดอันดับความสุขของบุคคล โดยยึดแนวคิดหลัก 2 ประการ คือ ระดับความสุขหรือการประเมินชีวิตสามารถวัดผลได้ผ่านการสำรวจความคิดเห็น และสามารถระบุปัจจัยกำหนดหลัก ๆ ของความเป็นอยู่ที่ดีได้ โดยได้จัดทำขึ้นโดย Sustainable Development Solutions Network (SDSN) เครือข่ายระดับสากลของผู้เชี่ยวชาญทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาด้านความยั่งยืน โดยค่าที่ทำการสรุปออกมาเรียกว่า happiness_score นั้นคือ คะแนนความสุขโดยเฉลี่ยทั้งประเทศ ปัจจัยต่างๆที่ได้ทำการวัดเพื่อมาสรุปค่าความสุข มีดังต่อไปนี้

  1. life_lad (Life Ladder) : ค่าคะแนนเฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่ได้จากการตอบคำถามว่า

"โปรดนึกภาพบันไดที่มีหมายเลขขั้นจาก 0 ถึง 10 ที่ด้านบนสุดของบันไดหมายถึงชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับคุณ และด้านล่างของบันไดหมายถึงชีวิตที่เลวร้ายที่สุดสำหรับคุณ คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังยืนอยู่ที่บันไดขั้นไหน?"

  1. gdp_per_cap (GDP per Capita) : ค่ารายได้ต่อหัวประชากร หรือกำลังซื้อของคนภายในประเทศ มีหน่วยเป็นดอลล่าร์สหรัฐ (USD)
  2. health: ค่าคะแนนสุขภาพที่ดีที่ให้ในตอนแรกเกิด (Healthy life expectancies at birth : HLE) ซึ่งเป็นข้อมูลที่เอามาจาก World Health Organization’s (WHO)
  3. social_sup(Social Support) : ค่าคะแนนเฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่ได้จากการตอบคำถาม โดยจะมีการบันทึกคำตอบแบบ Binary (0 or 1)

"คุณมีคนให้พึ่งพาในยามลำบากหรือไม่?"

  1. life_choice (Freedom) : ค่าคะแนนเฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่ได้จากการตอบคำถามว่า

"คุณพึงพอใจกับทางเลือกในชีวิตของตัวเองหรือไม่? โดยทางเลือกที่ว่านั้นหมายถึงอิสระในการเลือกทางเดินชีวิตของตัวเอง"

  1. generosity : ค่าคะแนนเฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่ได้จากการตอบคำถาม

"คุณได้บริจาคเงินเพื่อการกุศลในเดือนที่ผ่านมาหรือไม่?"

  1. corruption (Corruption Perception) : ค่าคะแนนเฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่ได้จากการตอบคำถามจำนวน 2 คำถามจาก Gallup World Poll (GWP) โดยจะมีการบันทึกคำตอบแบบ Binary (0 or 1) :

"การคอรัปชั่นแพร่หลายไปทั่วรัฐบาลหรือไม่” และ “การทุจริตแพร่หลายในภาคธุรกิจหรือไม่?"

  1. pos_aff (Possitive Effect) : ค่าคะแนนเฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่ได้จากการตอบคำถาม Gallup World Poll (GWP) ตามลำดับ:
  • “เมื่อวานคุณยิ้มหรือหัวเราะเยอะไหม ?”
  • “คุณมีความรู้สึกดังต่อไปนี้ (หัวเราะ, สนุกสนาน และทำสิ่งที่น่าสนใจ) ในช่วงตลอดวัน ของเมื่อวานหรือเปล่า ?"
  • "ความสนุกนั้นเป็นอย่างไร?”
  • “เมื่อวานคุณได้เรียนรู้หรือทำอะไรที่น่าสนใจหรือเปล่า?”
  1. neg_aff (Negative Effect) : ค่าคะแนนเฉลี่ยของคนทั้งประเทศที่ได้จากการตอบคำถาม Gallup World Poll (GWP) ตามลำดับ:
  • “คุณมีความรู้สึกดังต่อไปนี้ (กังวล, เสียใจ และ โกรธ) ในช่วงตลอดวัน ของเมื่อวานหรือเปล่า?"
  • "ความ (กังวล, เสียใจ และ โกรธ) นั้นเป็นอย่างไร?”
  1. conf_in_gov (Confidence in national government) : คะแนนความเชื่อมั่นในรัฐบาลโดยเฉลี่ย

"World Development Indicators" : เป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญในการพัฒนาโลกทั้งหมด (WDI) จัดทำขึ้นโดยธนาคารโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการพัฒนาทั้งโลกทั้งด้านการเงิน ธุรกิจ เทคโนโลยี สาธารณสุข พลังงาาน สุขภาพ การเกษตร เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการพัฒนามนุษย์กว่า 2,000 หัวข้อ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งกลุ่มเราได้ทำการเลือกมาวิเคราะห์เพียงบางหัวข้อที่มีความเกี่ยวเนื่องกันกับข้อมูลในส่วนแรก ที่ได้มาจาก World Happiness Report เพื่อหาผลกระทบที่ส่งผลต่อคะแนนความสุขของประชากร ดังนี้

  1. acc_to_clnfuels_per (Access to clean fuels and technologies for cooking (% of population)) : การเข้าถึงเชื้อเพลิงสะอาดและเทคโนโลยีสำหรับการปรุงอาหาร (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดภายในประเทศ)
  2. acc_to_electrics_per (Access to electricity (% of population)) : การเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการดำรงชีวิต (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดภายในประเทศ)
  3. birth_r (Birth rate (per 1,000 people)) : อัตราการเกิด ต่อ 1,000 คน
  4. death_r (Death rate (per 1,000 people)) : อัตราการตาย ต่อ 1,000 คน
  5. dm_hlth_expend (Domestic private health expenditure per capita (current US$)) : ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวของประชาชนที่เกิดขึ้นภายในประเทศ (US$ ในปัจจุบัน)
  6. electric_consump (Electric power consumption (kWh per capita)) : อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยเฉลี่ย (กิโลวัตต์ ต่อคน)
  7. forest_area_per (Forest area (% of land area)) : พื้นที่ป่า (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดภายในประเทศ)
  8. pm25 (PM2.5 air pollution (micrograms per cubic meter)) : ค่าฝุ่น pm 2.5 โดยเฉลี่ยทั่วประเทศ (micrograms per cubic meter)
  9. pop_dens (Population density (people per sq. km of land area)) : ความหนาแน่นของประชากร (1 คน ต่อ ตารางกิโลเมตรของพื้นที่ภายในประเทศ)
  10. pop_growth (Population growth (annual %)) : อัตราการเติบโตของประชากร (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์)
  11. pop_f_per (Population, female (% of total population)) : สัดส่วนประชากรเพศชาย (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ ประชากรทั้งหมด)
  12. pop_m_per (Population, male (% of total population)) : สัดส่วนประชากรเพศหญิง (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ ประชากรทั้งหมด)
  13. pop_total (Population, total) : ประชากรทั้งหมดทั้งประเทศ
  14. suicide (Suicide mortality rate (per 100,000 population)) : อัตราการฆ่าตัวตาย ต่อ ประชากร 100,000 คน
  15. trade_per_gdp (Trade (% of GDP)) : อัตราการ Trade (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งหมดภายในประเทศ)
  16. unemploy (Unemployment, total (% of total labor force)) : อัตราการว่างงาน (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของแรงงานทั้งหมดภายในประเทศ)

content

ประเทศที่มีความสุข มีลักษณะเป็นอย่างไร ?

What is the character of happiness country?

  • ลักษณะของประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก 10 อันดับแรก ( 0 = น้อย , 1 = มาก )

00-1

ปัจจัยที่ส่งผลให้ประเทศ 10 อันดับแรก มีความสุขที่สุดในโลก ได้แก่ :

  • life_lad
  • gdp_per_cap
  • social_sup
  • health
  • life_choice
  • pos_aff



ลักษณะของ 10 ประเทศแรก ที่มีคะแนนความสุขสูงที่สุดในโลกมีปัจจัยต่างๆที่ใกล้เคียงกัน แต่จะมีส่วนที่ทำให้ค่าความสุขแตกต่างออกมานั้นคือค่า การคอรับชั่นและความเชื่อมันของรัฐบาล ซึ่งจะเห็นได้ชัดในประเทศอิสราเอล ที่มีแนวโน้มของค่าค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ละนอกเหนือจากนี้ประเทศอิสราเองเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชีย ที่มีคะแนนความสุขติดอันดับ 10 ของโลก

  • ตั้งแต่ปี 2006 - 2021 แต่ละปัจจัยที่ใช้วัดค่าคะแนนความสุข โดยเฉลี่ยจากทั้งหมด 146 ประเทศ มีแนวโน้มเป็นอย่างไร ?

00-2

จากภาพด้านบน พบว่าค่าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ :

  • life_lad
  • gdp_per_cap
  • health
  • life_choice
  • generosity
  • neg_aff

และค่าที่ลดลง ได้แก่ :

  • corruption

จากรูปภาพ จะเห็นได้ว่าประชากรทั่วทั้งโลกตั้งแต่ปี 2006 ถึงปี 2021 มีความสุข รายได้ สุขภาพ และทางเลือกในชีวิตที่ดีขึ้น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากขึ้น แต่ก็มีความเครียด เศร้า หรือความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน



  • คะแนนความสุข มีความสัมพันธ์อย่างไรกับค่าอื่นๆอย่างไร? โดยอ้างอิงข้อมูลจาก World Happiness Report ( Correlation Heatmap )

00-3

  • ค่าความสัมพันธ์จากมากสุด ไปน้อยสุด ของปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อความสุข

00-4

ปัจจัยที่ทำให้คะแนนความสุขมีค่าสูง หรือ มีความสัมพันธ์เชิงบวก ( ที่มีค่าcorrelation > 0.45 ) ได้แก่

  1. Life ladder (0.92)
  2. GDP per Capita (0.79)
  3. Social Support (0.76)
  4. Health (0.75)
  5. Freedom (0.54)
  6. Possitive Effect (0.48)

ส่วนปัจจัยที่ทำให้ค่าคะแนนความสุขมีค่าลดลง หรือ มีความสัมพันธ์เชิงลบ ( ที่มีค่าcorrelation < -0.45 ) ได้แก่

  1. Corruption Perception (-0.47)

เมื่อดูความสัมพันธ์ของค่าต่างๆ ที่ส่งผลต่อคะแนนความสุขของประชากร เราพบว่ามีความสอดคล้องกันกับประเทศ 10 อันดับแรกที่มีคะแนนความสุขมากที่สุดในโลก
เพื่อความชัดเจนที่มากขึ้น เราได้ทำการตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยสังเกตจากการกระจายตัวของข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อยืนยันถึงลักษณะความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความสุขทั้งทางบวกและทางลบ

00-0

  • คะแนนความสุข มีความสัมพันธ์อย่างไรกับค่าอื่นๆ? ( Correlation Heatmap ) โดยในส่วนนี้เราได้เพิ่มข้อมูลจาก World Development Indicators (WDI) เข้ามาร่วมหาค่าความสัมพันธ์ด้วยกันกับข้อมูลจาก World Happiness Report

corr_plot_0


  • ค่าความสัมพันธ์จากมากสุดไปน้อยสุด ของปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อความสุข โดยเพิ่มเติมข้อมูลจาก World Development Indicators (WDI)

corr_plot_1


หลังจากที่ได้นำข้อมูลของ WDI เข้ามาพิจารณาเพิ่มเติม พบว่าปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อคะแนนความสุขของประชากร หรือ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ( มีค่า correlation > 0.45 ) ได้แก่


  1. Access to clean fuels and technologies (0.74)
  2. Access to electricity (0.65)
  3. Electric power consumption (0.57)
  4. Domestic private health expenditure per capita (0.53)

และปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนความสุขของคนในประเทศ ในทิศทางตรงกันข้าม ( ที่มีค่า correlation < -0.45 ) ได้แก่ :


  1. Birth rate (-0.7)
  2. PM2.5 (-0.49)
  3. Population growth (-0.45)

โดยสรุปแล้ว จากภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าต่างๆกับคะแนนความสุขของประชากรทั้งหมด เราพบว่าการเข้าถึงพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้ประชากรมีความสุขเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ทำให้ใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น

และในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับการดูแลสุขภาพก็มีความสัมพันธ์ที่สูงเช่นกัน ซึ่งหมายความได้ว่า ยิ่งประชากรใช้จ่ายเพื่อให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดีมากขึ้นเท่าไหร่ทั้งจากการรักษาตัว หรือเพื่อบำรุงตัวเอง ก็จะทำให้ประชากรมีสุขภาพที่ดีขึ้น และส่งผลให้คะแนนความสุขมีค่าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ในทางตรงกันข้าม เมื่อปริมาณประชากรเพิ่มขึ้น ค่าฝุ่น PM 2.5 ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้คะแนนความสุขของประชากรลดลง

  • การกระจายตัวของข้อมูล เพื่อยืนยันถึงลักษณะความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความสุขทั้งทางบวกและทางลบ

plot_0


นอกจากนั้นเราก็ยังค้นพบสิ่งที่น่าประหลาดใจบางอย่าง คือ เมื่ออัตราการเกิดมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้คะแนนความสุขของประชากรลดลง
โดยปกติแล้ว เราเข้าใจว่า เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น จะทำให้คนในครอบครัวมีความสุข แต่หลังจากที่เห็นว่าค่าความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นมีลักษณะตรงกันข้าม เราจึงได้ทำการวิเคราะห์ส่วนนี้เพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป

ทำไมอัตราการเกิดที่เพิ่มขึ้น ถึงได้ส่งผลให้คะแนนความสุขของประชากรลดลง ?


จากค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความสุขของประชากรและอัตราการเกิดที่เราได้กล่าวถึงในหัวข้อก่อนหน้า ซึ่งพบว่ายิ่งมีอัตราการเกิดที่สูง ยิ่งส่งผลให้คะแนนความสุขของประชากรลดลง
เมื่อเป็นดังนั้น เราจึงได้ทำการตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิด กับปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม

th_list


จากความสัมพันธ์ด้านบนจะพบว่าอัตราการเกิดที่มากขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณการเติบโตของประชากรเพิ่มขึ้น และเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นก็มีความเป็นไปได้ว่า ค่าฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การเข้าถึงพลังงานต่างๆ และเทคโนโลยี ของคนในประเทศลดน้อยลง

ในส่วนของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายเพื่อตัวเองก็มีแนวโน้มที่จะลดน้อยลงเช่นกัน เพราะมีความเป็นไปได้ที่แต่ละครอบครัวจะต้องใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นไปกับการดูแลสมาชิกใหม่
รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมกับคนรอบข้าง ก็มีแนวโน้มว่าจะลดลงด้วย

และนอกจากนี้อัตราการเกิดยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง สาเหตุมาจากการที่ประชากรเพิ่มมากขึ้น แต่ทรัพยากรต่างๆสำหรับการรักษา เช่น เตียงผู้ป่วย ยารักษาโรค หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ นั้นอาจมีปริมาณที่จำกัด ไม่ได้รองรับกับปริมาณคนที่เพิ่มมากขึ้น

ความสุขโดยรวมของคนไทย เป็นอันดับที่เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับทั่วโลก ?

What is the rank of overall happiness of Thai people compared to the world ?

  • รายชื่อประเทศ 70 อันดับแรก เรียงคะแนนความสุขจากมากไปน้อย

02-0


ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 61 จากทั้งหมด 146 ประเทศ ( บางประเทศเป็นค่า NaN จึงถูกตัดออก )


ในทวีป Asia ความสุขของประเทศไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่ ?

What is the rank of overall happiness of Thai people compared to the ASIA ?

  • รายชื่อประเทศในทวีป ASIA เรียงคะแนนความสุขจากมากไปน้อย

02-1


ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 12 จากทั้งหมด 35 ประเทศ ( บางประเทศเป็นค่า NaN จึงถูกตัดออก )


ใน 15 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีความสุข เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ?

Over the past 15 years, Thai people's happiness has increased or decreased ?


  • ทำการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลถึงความสุขระหว่างประเทศไทย กับประเทศที่มีค่าความสุขสูงสุด ( ฟินแลนด์ ) ประเทศที่มีค่าความสุขในระดับกลาง ( บังกลาเทศ ) และประเทศที่มีค่าความสุขน้อยที่สุด ( อัฟกานิสถาน )

03-0


จากตาราง เราพบว่าปัจจัยความสุขของประชากร การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพที่ดี ทางเลือกในการใช้ชีวิต การได้ทำหรือเรียนรู้ในสิ่งที่อยากทำ รวมถึงสภาวะความเครียดของประเทศไทยมีแนวโน้มใกล้เคียงกับประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีคะแนนความสุขสูงที่สุดในโลก ในขณะที่รายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ

ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย คือมีคะแนนการรับรู้คอรัปชั่นที่ค่อนข้างสูง เทียบเท่ากับประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุดในโลก ( Afghanistan ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังปี 2018 พบว่าค่าความเชื่อมันต่อรัฐบาลในประเทศไทยลดต่ำลงมาอย่างชัดเจน

เราจึงตีความได้ว่าการทำงานของรัฐบาลและการคอรัปชั่น ส่งผลให้ประชากรในประเทศไทยมีความสุขลดลง

  • มีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อความสุข ของคนในประเทศอีกไหม? เมื่อเทียบกับประเทศที่มีค่าความสุขสูงสุด ( ฟินแลนด์ ) ประเทศที่มีค่าความสุขในระดับกลาง ( บังกลาเทศ ) และประเทศที่มีค่าความสุขน้อยที่สุด ( อัฟกานิสถาน )

th_list


จะเห็นได้ว่า การเข้าถึงพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีต่างๆ การเติบโตของประชากร และอัตราการเกิดใหม่ ของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับฟินแลนด์

ในทางตรงกันข้าม ก็คือเรื่องฝุ่น PM 2.5 และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย ที่ค่อนข้างแตกต่างกับฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีคะแนนความสุขมากที่สุด

Conclusion


  • นำปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลกับค่าความสุขของประชากรในประเทศไทยมารวมกัน แล้วดูว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร ( เพิ่มขึ้น/ลดลง )

โดยการ กำหนดค่าต่ำสุดและสูงสุดของแต่ละปัจจัยให้ตรงกัน จากนั้นจึงนำมาพล้อตกราฟรวมกัน
ค่าใกล้ 0 คือ มีค่าที่ต่ำเมื่อเทียบกับทั้งโลก, ค่าที่เข้าใกล้ 1 คือ มีค่าสูงเมื่อเทียบกับทั้งโลก


th_list_0


โดยเราได้แยกออกมาดูเป็นสองส่วน คือส่วนที่ส่งผลในทางลบ และทางบวก ต่อคะแนนเฉลี่ยความสุขของคนในประเทศไทย

ส่วนแรก คือ ปัจจัยที่ ส่งผลในทางลบ ต่อคะแนนความสุขของประเทศไทย


th_list_0


  • สำหรับประเทศไทย มีแนวโน้มว่าคะแนนความสุขของประชากรจะเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะผ่านเหตุการณ์ The European crisis ในปี 2010 จนกระทั่งปี 2014 ที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้จัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ( คสช. ) ( Revolution (Prayut) ) ขึ้นมาควบคุมและดูแลการทำงานของรัฐบาลไทย

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แนวโน้มของค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย ( life Ladder ) รวมถึงความสุขในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ( pos_aff ) และค่าความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล ( cof_in_gov ) ก็มีค่าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับความเครียดความกังวลที่เกิดขึ้นแต่ในละวัน ( neg_aff ) ที่มีค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่เกิดเหตุการณ์ Covid-19
ในส่วนของการคอรับชั่นเองก็มีค่าที่ค่อนข้างสูงมากอยู่แล้ว สำหรับค่าดังกล่าว เมื่อสังเกตดีๆจะพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วง COVID-19

  • สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประชากร ( electric_consump ) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อาจตีความได้ว่าการใช้ไฟฟ้ามีการกระจุกอยู่เพียงแค่ตามหัวเมืองต่างๆเท่านั้น แต่เมื่อเป็นค่าเฉลี่ยทั่วประเทศแล้วอาจจะยังมีปริมาณที่ค่อนข้างต่ำ

และในส่วนที่สอง คือ ปัจจัยที่ ส่งผลในทางบวก ต่อคะแนนความสุขของประเทศไทย


th_list_1


  • ปัจจัยที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ การเข้าถึงพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีต่างๆสำหรับการทำอาหาร ( acc_to_clnfuels_per ) ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีต่อคนไทย เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้คนไทยมีความสะดวกสบายมากขึ้นในการประกอบอาหาร
  • ในส่วนของรายได้ต่อหัวของประชากร ( GDP ) ถึงแม้จะค่อนข้างคงที่ แต่ก็ยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในทุกๆปี จนกระทั่งเหตุการณ์ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้มีค่าดังกล่าวลดลง และยังมีความสัมพันธ์กับอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นด้วย
  • สำหรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวภายในประเทศ ( dm_hlth_expend ) มีคะแนนที่ค่อนข้างต่ำ แต่ประสิทธิภาพในการรักษาของประเทศไทย ( health ) อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี ซึ่งแปลได้ว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคในประเทศไทยไม่สูงมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ แถมยังมีประสิทธิภาพที่ดี จึงทำให้คนไทยมีร่างกายที่แข็งแรง
  • สิ่งที่น่าสนใจก็คือ อัตราการเกิดของคนไทย ที่มีค่าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างช้าๆในทุกๆปี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงกับสภาวะสังคมในตอนนี้ เพราะถ้าหากการเกิดยังคงลดลงต่อไปในอนาคต จะทำให้สังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วขึ้น

Predict from conclusion

คาดการณ์ล่วงหน้า เกี่ยวกับหัวข้อที่สรุปมาได้

  • หากประเทศไทยยังคงรักษารูปแบบการปกครองในแบบเดิมอยู่ ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ว่า คนไทยจะมีความสุขลดลง
  • อัตราการเกิด ที่ส่งผลให้ประชากรมีความสุขลดลง มีแนวโน้มว่าจะกระทบกับความก้าวหน้าของประเทศไทยในอนาคตได้ เพราะจะทำให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเพิ่มขึ้น เด็กรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศลดลง และอาจทำให้ประเทศเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยไวขึ้น
  • เนื่องจากประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่ดี และในค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ในอนาคตอาจมีชาวต่างชาติเข้ามารักษาสุขภาพภายในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

Action plan to handle the prediction results

เราจะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดจากการคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างไร ?
จากการวิเคราะห์ทั้งหมดที่ผ่านมา เราสามารถสรุปได้ว่า

  • หากผู้คนในประเทศไทยหันมาช่วยกันปราบปรามคอรับชั่น และมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่ ก็จะทำให้คนในประเทศ มีความสุขเพิ่มมากขึ้น และมีความเชื่อมั่นในรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้
  • และเมื่อคนไทยมีความมั่นใจในรัฐบาล ก็อาจส่งผลให้คนรุ่นใหม่มีความต้องการที่จะมีลูกเพิ่มขึ้น เพราะอาจจะมีนโยบายที่ช่วยส่งเสริมให้คนอยากมีลูก หรือ คนในประเทศมีความมั่นใจในคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตมากขึ้น จึงสามารถตัดสินใจมีลูกได้โดยปราศจากความกังวล
  • เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่ไม่สูง และมีประสิทธิภาพที่ดี จึงอาจทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นจุดศูนย์กลางในการรับรักษาชาวต่างชาติ และส่งผลให้มีจำนวนเงินไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น